จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

น้ำมะกรูด



             สรรพคุณทางยา ในน้ำมะกรูด มีกรดซิตริก เป็นสารหลัก คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอาซิน วิตามินซี 
น้ำมะกรูด มีรสเปรี้ยวแก้น้ำลายเหนียว แก้ปวดท้อง แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน บีบน้ำมะกรูดลงคอ 5-6 หยด ทุก 5-10 นาที แก้ไอช่วยละลายขับเสมหะ ฟอกเลือด การนำมาใช้เพื่อขับลม เราจะต้องฝานผิวมะกรูดสดเป็นชิ้นเล็กๆ เติมการบูรหรือพิมเสน ชงในน้ำเดือดแช่ทิ้งไว้ ดื่มแต่น้ำ ใช้สระผม ผ่ามะกรูดเป็น 2 ชิ้น สระผมเสร็จแล้ว เอามะกรูดสระซ้ำ หลังจากนั้น ล้างผมออกให้หมด หรือจะใช้ผลมะกรูดเผาไฟผ่าซีก สระผมช่วยบำรุงผมให้ดกดำเป็นเงางามการใช้มะกรูดนวดแทนยานวดผมยังบำรุงรากผมไม่ทำให้ร่วงง่าย ไม่หงอกเร็ว ผมลื่นหวีง่าย และยังมีฤทธิ์ทำลายเชื้อราที่หนังศรีษะ จะรักษาชันนะตุอีกด้วย
ผิวผลสดและผลแห้ง รสปร่า หอมร้อน สรรพคุณแก้ลมหน้ามืด แก้วิงเวียน บำรุงหัวใจ ขับลมลำไส้ ขับระดู
ราก รสเย็นจืด แก้พิษฝีภายใน แก้เสมหะ แก้ลมจุกเสียด
- ใบ รสปร่าหอม แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ช้ำใน มีสารต้านมะเร็ง และดับกลิ่นคาว
คนไทยใช้ผิวมะกรูดเป็นเครื่องเทศผสมในเครื่องแกง หลายชนิดของแกงเผ็ดและผัดเผ็ด ใส่ในน้ำพริก (ขนมจีน) น้ำมะกรูดมีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหาร ดับกลิ่นคาว นิยมใส่น้ำมะกรูดในปลาร้าหลน ใส่แกงส้ม แกงเทโพ ใบมะกรูดโดยการฉีกหรือหั่นฝอยเพื่อกลบคาวหรือแต่งกลิ่นแกงเผ็ด ผัดเผ็ด ฉู่ฉี่ปลา แกงต้มส้ม ต้มยำ ห่อหมก ตำขนุน ข้าวยำปักษ์ใต้ ใส่ในเครื่องแกงทำทอดมันปลากราย ใช้ปรุงอาหารหลายอย่าง เช่น ต้มยำ แกงเผ็ด ทอดมัน ใช้โรยหน้าอาหารที่ปรุงเสร็จแล้วเพื่อแต่งกลิ่น เช่น โรยหน้าข้าวเหนียวหน้ากุ้ง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น